AP Thailand x Mitsubishi Estate ครบรอบ 10 ปี พาดูงานภายใต้การออกแบบ Inclusive Living ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
AP Thailand x Mitsubishi Estate ครบรอบ 10 ปี ความร่วมมือ พัฒนาโครงการร่วมรวม 24 โครงการ บนแนวทางใหม่ Inclusive Living หรือ การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อทุกคน จากความร่วมมือ ตั้งแต่ 2557 จนถึงปัจจุบัน รวม 10 ปี 24 โครงการ ทำให้ เอพี ไทยแลนด์ พัฒนาพื้นที่รูปแบบใหม่ในการดำเนินชีวิต (New layout of Life) บนพื้นฐาน การออกแบบพื้นที่เพื่อทุกคน หรือ Inclusive Living รองรับทุกความต้องการและการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน และด้วย ความร่วมมือจากพันธมิตร บริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่มุ่งออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการดีไซน์พื้นที่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม โครงการที่พักอาศัย อย่างคอนโดมิเนียม เพราะเข้าใจในการพัฒนาคอนโดมิเนียม มีความซับซ้อนในการออกแบบมากกว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ผู้คนทุกเพศทุกวัย สามารถเลือกใช้ชีวิตที่ดีและมีคุณภาพ บนพื้นที่อิสระ สภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย และปลอดภัย รวมไปถึงตอบสนองการใช้ชีวิตที่มีข้อจำกัดของร่างกาย โดยที่ยังรักษาคุณค่าในตัวเองของทุกคนเอาไว้
การออกแบบพื้นที่เพื่อทุกคน (INCLUSIVE LIVING)
Inclusive Living มีพื้นฐานจาก Universal design ตามแนวโน้มอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในไทย หรือ ที่ไทยกำลังเข้าสู่ สังคมสูงวัย อย่างญี่ปุ่นก็เข้าสู่สังคมสูงวัยแล้วตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทำให้ในญี่ปุ่น พัฒนาโครงการแบบ Inclusive Design มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ สนามกีฬา ที่ใช้จัดโอลิมปิก ครั้งล่าสุด รวมถึงพื้นที่สาธารณะต่างๆ อย่าง สถานีรถไฟฟ้า สนามบิน เป็นต้น
โดยในครั้งนี้ ทาง AP Thailand พาสื่อมวลชนดูงาน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 2 โครงการ คือ
- TOKYO TORCH Tokiwabashi Tower
- THE PARKHOUSE NISHI SHINJUKU TOWER 60
TOKYO TORCH Tokiwabashi Tower
สำหรับอาคารสำนักงาน TOKYO TORCH Tokiwabashi Tower ของ Mitsubishi Estate ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ 2021 สูง 38 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 146,000 SQ.M. 1 ใน 4 อาคารของโครงการ TOKYO TORCH Project ที่จะสร้างเสร็จครบทั้งหมด ในปี 2028 โดยอาคารได้ออกแบบ Public Space ส่วนกลาง ที่ให้ความสำคัญภายใต้แนวคิด INCLUSIVE LIVING สำหรับการใช้งานร่วมกันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาดทางเดิน สัดส่วนพื้นที่ วัสดุ ราวจับ ไปจนถึงความลาดชัน สัญลักษณ์บนพื้น เพื่อให้การเดินทุกรูปแบบสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างง่าย อาทิ
Ground Floor การออกแบบทางเข้าหลัก พร้อมวัสดุปูพื้นเบรลล์บล็อก (Braille Block) และวัสดุปูพื้นแผ่นปูกันลื่น รวมถึง
- Braille brock
- Double Handrail
- Slope
- Non-step
- Non-slip floor finishing
- Tactile Info Board
- Tactile Info on Handrail
Lift ลิฟต์โดยสารขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับรถเข็น และปุ่มกดระดับพิเศษที่สามารถกดเรียก และเลือกชั้นได้
- Bottom for wheelchair user
- Voice guide
- Handrail
- Non-step
Multi-Purpose Restroom ห้องน้ำสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ราวจับ อุปกรณ์ฉุกเฉิน
- Pictogram : Easy to understand for everyone การสื่อสารด้วยภาพ เพื่อคนทุกชาติ ทุกภาษา
- Handrail
- Baby Holder
- Baby Bed
- Ostomate Sink/Shower
- Wash Basin Easy to use for wheelchair user
- IoT Restroom บอกได้ว่าห้องใดว่าง และดูทรัพยากรด้วยว่า ทิชชู่ จะหมด
Basement Floor ทางเชื่อมรถไฟฟ้า ที่กลายเป็น Public Space จึงต้องกว้าง ดีไซน์ทางลาดพร้อมติดตั้งราวจับพื้นที่เชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
- Non-slip floor finishing
- Braille brock
- Double Handrail
- Slope
- Non-step
Landscape พื้นที่สีเขียวดีไซน์พิเศษ พร้อมดีไซน์ทางลาดและราวจับ ด้วยสัดส่วนที่กว้างขวางเพียงพอเพื่อความสะดวกในการใช้งานรถเข็นทุกประเภท เป็นต้น
- Non-slip floor finishing
- Braille brock
- Double Handrail
- Slope
- Non-step
- Bio-Diversity
THE PARKHOUSE NISHI SHINJUKU TOWER 60 โครงการคอนโดมิเนียมพร้อมเข้าอยู่ ของ Mitsubishi Estate ใจกลางมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อยู่ห่างจากสถานี Shinjuku ประมาณ 1.2 กิโลเมตร ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2017 หนึ่งในโครงการคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น (จากการสำรวจในปี 2014) มีความสูง 60 ชั้น จำนวน 953 ยูนิต รูปแบบสตูดิโอ - 3B ขนาดพื้นที่ใช้สอย 34-157 ตร.ม. โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวม 104,000 ตร.ม.
ความน่าสนใจ ที่นี่ก็ใช้การออกแบบโครงการแบบ Inclusive Living เช่นกัน คือ การออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง (Facilities) ให้ใช้ชีวิตอย่างสะดวก เข้าถึง ได้โดยไม่เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิต ทั้งการออกแบบทางเดินในพื้นที่ส่วนกลาง ลิฟต์ ราวจับ และวัสดุปูพื้นชนิดพิเศษในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ ของโครงการที่เอื้อต่อการใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยหลากหลายช่วงวัย
บริเวณ Entrance Lobby ซึ่งจะมี
- Braille brock
- Double Handrail
- Slope
- Non-step
- Non-slip floor finishing
- Interphone Device
Common area
- Comfortable Furniture Layout
- Handrail To Lift Hall
Corridor
- Handrail
Lift Hall
- Handrail
- Button for Wheelchair User
Multi-Purpose Restroom
- Handrail
- Baby Bed
- Ostomate
Coach Entrance in Parking
- Slope
- Handrail
Public Garden
- Bio-Diversity
Pavement
- Non-Slip Floor Finishing
- Wide Pavement
- Non-Step
หนึ่งในฟังก์ชันที่น่าสนใจ คือ การนำแนวคิด ENGAWA – MULTI GENERATION FACILITY
ENGAWA หรือ Multi-Genertion Facility คือ รูปแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่เป็นพื้นที่ส่วนที่ที่ทุกคนในครอบครัวมาใช้ร่วมกัน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรม ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ กระทั่งผู้สูงวัย ทำให้คนในอาคารเกิดการสื่อสารกัน ให้ทุกวันของการพักอาศัยเป็น COMMUNITY ของการอยู่อาศัยที่มีความสุข ที่นี่จึงพัฒนาให้สามารถรองรับบุคคลได้ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงคุณพ่อคุณแม่ นำไปสู่การช่วยเหลือกันในช่วงพายุ หรือ ภัยพิบัติ
ยกตัวอย่าง การออกแบบพื้นที่ Common Area ที่เชื่อมโยงพื้นที่ทุกๆ ส่วนให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จากการวางสเปซฟังก์ชันต่างๆ อาทิ Wooden Kid’s Plaza, Reading Corner, Library โดยที่ทุกๆ ส่วนแทรกผสานพื้นที่สำหรับการใช้งานร่วมกันและพื้นที่สำหรับมุมส่วนตัวไว้ให้สลับไปมา ทำให้ผู้อาศัยสามารถสัมผัสถึงการอยู่ร่วมกันในขณะที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ และเปิดแสงธรรมชาติเข้ามาสร้างความโปร่งโล่งภายในตัวอาคาร เป็นต้น